ก็เอ็มไง

หัวใจเล็กเท่ากำปั้น แต่ใหญ่ที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

สื่อมวลชนกับการศึกษา

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในปัจจุบัน สื่อมวลชนมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสังคมโดยรวมและบุคคล ทั้งทางลบและทางบวก ยกตัวอย่างเช่น สื่อมวลชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมอย่างขาดไม่ได้ ช่วยสร้างงานให้กับคนงานจำนวนหลายล้านคน สื่อมวลชนกลายเป็นศูนย์รวมทางด้านการเมือง โดยมีการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์ทางการเมืองของพรรค การหาเสียง และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป การสื่อสารมวลชนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชน การรับฟังรายการวิทยุ การชมรายการ รวมทั้งระบบการศึกษาด้วย
สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น
ความหมายของ “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา”
สื่อมวลชน หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมวลชนมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน (Mass Media Function)
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน หมายถึง การกระทำของสื่อมวลชนที่ได้ส่งผล กำลังส่งผลหรือที่จะส่งผลต่อชีวิตและสังคมนั่นเอง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นไปตามธรรมชาติของการสื่อสารมวลชนหรือเป็นไปตามจารีตประเพณีหรือศีลธรรมจรรยาของสังคม ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพสื่อมวลชนนั้นๆ
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนตามแนวคิดของลาสเวลส์ Lasswell ได้อธิบายแบบจำลองทางการสื่อสารไว้ว่า กระบวนการติดต่อสื่อสารประกอบไปด้วย ผู้ส่ง (Who) พูดอะไร (Says what) โดยใช้ช่องทางไหน (In which channel) ไปถึงใคร (To whom) และเกิดผลอะไรบ้าง? (With what affect) และกล่าวถึง หน้าที่ของสื่อมวลชนในหนังสือ “The Structure and Function Communication” ว่ามีอยู่ 3 ประการคือ
1.หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment)
2.หน้าที่ในประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆของสังคมให้รวมตัวกันอยู่ได้(Correlation of the Different parts of Society in Responding toEnvironment)
3.หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคม (Transmission of Social Heritage from one Generation to the next)
หน้าที่ของสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้
1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ
2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน
3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา ลักษณะการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
2.เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ
3.สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้
4.เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
5.อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน6.สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้
8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด
9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
11. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
สื่อโทรทัศน์จัดได้ว่าเป็นสื่อที่มีอิทธิพลทางสังคมมากที่สุด ทั้งเพื่อความบันเทิง การรับรู้ข่าวสารต่างๆจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ความรู้ วิทยาการต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนข้อมูลของสินค้าและบริการต่างๆที่โฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ เพราะเป็นสื่อที่แพร่หลายสามารถเห็นได้ทั้งภาพและเสียง จึงมีอิทธิพลในการจูงใจผู้บริโภคอย่างมาก
คำพูดที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคมนั้น เพราะสื่อทำหน้าที่ทั้งในเชิงสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชม ให้ความสนุกสนาน ช่วยในการผ่อนคลาย รับรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และในขณะเดียวกันเป็นกระจกสะท้อนสังคมที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมความนึกคิด และพฤติกรรมของผู้ชมในวงกว้างอีกด้วย สื่ออาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะทางด้านอารมณ์ที่รุนแรง เป็นช่องทางในการรับรู้ข่าวสารที่ไม่มีสาระได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรเลือกที่จะรับสื่อในทางที่ถูกที่ควร
ความคิดเห็นต่อเรตติ้งทีวีไทย ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นการสร้างมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น ตัว น13 , ฉ , น18 , ท แต่ถึงอย่างไรผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่บุตรหลานควบคู่ไปด้วย อีกทั้งทางผู้ประกอบการเองก็ควรคำนึงถึงเนื้อหาสาระที่มุ่งการลดความรุนแรง และมีสาระมากกว่าเดิม และควรมีบอร์ดเซนเซอร์มีอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์ของเนื้อหาที่ชัดเจน ทั้งนี้ผู้ชมควรแยกแยะ เลือกที่จะรับชม โดยเฉพาะเยาวชนไทยที่ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาด้านความเชื่อ และมุมมองต่อโลกทรรศน์
ประวัติความเป็นมา SMS การส่ง SMS ครั้งแรก คือ การส่งข้อความจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังโทรศัพท์มือถือเครือข่ายโวดาโฟนซึ่งเป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระบบจีเอสเอ็ม ในประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1992 SMS ย่อมาจากคำว่า Short Message Service หรือเป็นบริการส่งข้อความสั้นๆ ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับการส่งอีเมลล์ แต่จะสามารถส่งข้อความได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษรผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ข้อดีของบริการ SMS คือ สามารถส่งไปยังผู้รับโดยไม่ต้องกังวลว่าพื้นที่ของผู้รับจะมีสัญญาณหรือไม่ในขณะนั้น หากทางปลายทางไม่มีสัญญาณระบบ SMS นี้จะเก็บข้อมูลไว้จนกว่าปลายทางมีสัญญาณทางระบบจึงจะทำการส่งข้อมูลไปในทันที นอกจากนี้แล้ว SMS ยังสามารถส่งข้อความที่ได้รับมาต่อไปยังหมายเลขอื่นๆได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย ใช้เวลาน้อย และประหยัดน้ำมัน เพียงแค่พิมพ์ข้อความแล้วกดส่ง ก็จะถึงมือผู้รับโดยไม่ยาก
ข้อเสียของบริการ SMS คือ การส่งข้อความแต่ละครั้งเราสามารถส่งได้ตามใจตนเองดังนั้นหากเป็นข้อความที่ไม่พิงประสงค์แก่ผู้รับอาจทำให้เกิดการละเมิดสิทธิได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอีกด้วย และหากกรณีของการส่งข้อความเป็นการส่งเพื่อร่วมชิงรางวัลต่างๆ โดยที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย ความผิดในการส่งเอสเอ็มเอสนี้ก็เข้าข่ายกฎหมายว่าด้วยการโฆษณาเช่นกัน
การนำสื่อมลวชนมาใช้ในการศึกษานับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น สามารถเป็นสื่อที่สอนแทนครูได้ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู เพื่อเสริมความรู้ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้ บันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน สื่อช่วยดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน ให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ประจำวัน เป็นเครื่องมือในการช่วยสอน เพิ่มพูนคุณค่าในการสอน เพิ่มความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
แนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา ในปัจจุบันได้มีการนำสื่อมวลชนมาใช้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิดีทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเตอร์เนต ฉะนั้นจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นครูผู้สอนควรที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ และจัดกิจกรรมการเรียนที่จะต้องใช้สื่อมวลชนร่วมด้วยจะช่วยให้การเรียนสำฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น
สื่อมวลชนจะเป็นสื่อที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างมากหากรู้จักใช้ในทางที่ถูกที่ควร