ก็เอ็มไง

หัวใจเล็กเท่ากำปั้น แต่ใหญ่ที่สุดในโลก

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550

1. นวัตกรรมการศึกษา

1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

1. สื่อสิ่งประดิษฐ์เช่น กล้องโทรทัศน์ หนังสือ คู่มือครู แบบเรียนโปรแกรม วิดิทัศน์ แผนการสอน ชุดการสอน ศูนย์การเรียน สื่อประสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เกม เพลง แบบฝึกต่างๆ เอกสารประกอบการสอน ใบความรู้ ใบงาน สไลด์ แผ่นโปร่งใส ข่าวหนังสือพิมพ์
2. วิธีการหรือเทคนิคเช่น วิธีทดลอง วิธีไตรสิกขา วิธีอริยสัจ ๔ วิธีสอนแบบโครงงานวิธีสอนแบบสหกิจวิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิธีสอนแบบStoryline วิธีสอนแบบสากัจฉา วิธีสอนแบบดาว ๕ แฉก CIPPA Model, Mind Mapping วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ วิธีสอนแบบอภิปราย วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ การแสดงละครบทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง ทัศนศึกษา สอนซ่อมเสริม การสอนเป็นทีม การสอนตามสถาพจริง การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้จากชุมชนและธรรมชาติ วิธีสอนแบบซินดิเคท วิธีสอนแบบลีลาศึกษา วิธีสอนแบบลักศาสตร์ วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ วิธีสอนแบบวรรณี วิธีสอนแบบเรียนเพื่อรอบรู้ (Mastery Learning) วิธีสอนแบบอนุมาน วิธีสอนแบบวิพากษ์วิจารณ์ วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้(4 MAT System) เป็นต้น

1.3 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม มี ๕ ขั้นตอน คือ
1) การสร้าง นวัตกรรม ได้แก่ การสร้างแรงกระตุ้น การสร้างฐานข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม
2) การรับรู้ ( Recognition ) การสำรวจเพื่อให้เกิดการรับรู้ เปิดโอกาสให้นวัตกรรมระดับ รากหญ้าได้รับการสนับสนุน
3) การพัฒนา ( Development ) ให้สอดคล้องตามอุปสรรค หรือเหตุปัจจัยที่ค้นพบ และสนับสนุนให้เกิดแนวทางแก้ไข จนบรรลุตามวัตถุประสงค์
4) ดำเนินการ ( Implement ) การนำนวัตกรรมที่ผ่านการคิดค้นสู่การดำเนินการจริง เพื่อเกิดความยั่งยืน โดยเน้นที่ความปลอดภัย
5) การขยายผล ( Diffision ) เป็นการขยายผลตามธรรมชาติ คือ ความนิยมชมชอบ หรือสนับสนุนให้เกิดการขยายผลในเชิงนโยบาย พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย

1.4 การยอมรับและปฏิเสธินวัตกรรม

การปฏิเสธินวัตกรรม

1) ความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ ที่ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้นๆ โดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2) ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม
3) ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
4) ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ

การยอมรับนวัตกรรม
เอเวอร์เรต เอ็ม โรเจอร์ (Everretle M.Rogers อ้างในณรงค์ สมพงษ์,2530:6) กล่าวถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมว่าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
1)ขึ้นตื่นตัว เป็นขั้นของการที่ผู้รับได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้นๆ
2)ขั้นสนใจ เป็นขั้นที่ผู้รับนวัตกรรมเกิดความสนใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่ ก็จะเริ่มหาข้อมูล
3)ขั้นไตร่ตรอง ผู้รับจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาของตนได้จริงหรือไม่
4)ขั้นทดลอง เมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของตนได้ ผู้รับก็จะนำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาทดลองใช้
5)ขั้นยอมรับ เมื่อทดลองใช้นวัตกรรมดังกล่าว แล้วหากได้ผลเป็นที่พอใจ ก็จะเป็นที่ยอมรับนำมาใช้เป็นการถาวร หรือจนกว่าจะเห็นว่าด้อยประสิทธิภาพ หากไม่เกิดประสิทธิภาพนวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลนั้นอีกต่อไป

1.5. การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา
สำหรับนวัตกรรมกับการศึกษา เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา ก็เป็นการนำแนวคิดใหม่ๆ ไปใส่การศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบที่เราอยากให้เป็น เช่น อยากให้คนเรียนรู้มากขึ้น เก่งขึ้น ทำวิจัย เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งในทางนวัตกรรมการศึกษานั้นคิดว่าต้องเป็นบวกแน่นอน เพราะคงไม่มีใครคิดจะให้การศึกษาถอยหลัง แต่เราก็ต้องดูด้วย เพราะไม่แน่ สิ่งที่คิดว่าเป็นบวกในสังคมหนึ่ง มันอาจจะเป็นลบ กับอีกสังคมหนึ่งก็ได้

2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1 ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ

2.2 ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล
2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่

2.3 ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา
ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นี้ผู้เรียนทุกๆ คน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันให้ก่อประโยชน์สูงสุด

2.4 การนำแหล่ทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและปฏิบัติได้อย่างมีความสุข

3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware)ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ

3.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้

3.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายรูปแบบ ดังนี้
1 การฝึกทักษะและฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice) เป็นการให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหานั้นๆแล้วหรือมีการฝึกซ้ำๆเพื่อให้เกิดทักษะ หรือเป็นการแก้ปัญหาแบบตายตัว เช่น การฝึกท่องจำศัพท์ ฝึกบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
2 การเรียนแบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) เป็นการจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง โดยสมมุติเหตุการณ์หรือสภาพต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนตัดสินใจโต้ตอบหรือจัดกระทำโดยใช้ความคิดหรือเหตุผลของผู้เรียนเอง เพื่อดูผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้นๆ นอกจากจะใช้โปรแกรมชนิดนี้ในด้านการตัดสินใจแล้วยังใช้ในการฝึกปฎิบัติในสิ่งที่ไม่อาจให้ฝึกด้วยของจริงได้ เพราะค่าใช้จ่ายสูงหรือเสี่ยงอันตรายเกินไป
3 แบบผู้ช่วยสอน (Tutorials) วิธีนี้คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่สอน โดยเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ศึกษา ต่อจากนั้นจะมีการตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ หากตอบไม่ได้ก็จะได้รับคำแนะนำเนื้อหานั้นใหม่ และให้ตอบคำถามใหม่จนกว่าจะเข้าใจ โปรแกรมแบบนี้คล้ายแบบที่ 1 ต่างกันตรงที่แบบที่ 1 เน้นที่ฝึกให้เกิดทักษะความชำนาญ ส่วนแบบนี้จะเป็นการเสนอบทเรียนใหม่และเน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และคำตอบอาจตอบได้หลายวิธี คำตอบที่ถูกอาจมีหลายคำตอบ แบบผู้ช่วยสอนนี้ถือว่าเป็นประเภทของ CAI ที่เมืองไทยนิยมสร้างที่สุด
4 เพื่อการสาธิต (Demonstration) ประเภทนี้จะสาธิตแนวคิดหรือแนวปฏิบัติให้นักเรียนได้ดูเป็นแบบอย่าง เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติต่อไป เช่น แนวคิดหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
5 ใช้ในการสอบ (Testing) ประเภทนี้ใช้เพื่อทดสอบนักเรียนโดยตรงหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหาหรือฝึกปฎิบัติแล้ว ผู้เรียนก็จะทำแบบทดสอบโดยผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์รับคำตอบแล้วก็จะทำการบันทึกผล ประมวลผลตรวจให้คะแนน และเสนอผลให้นักเรียนทราบทันทีที่ทำข้อสอบเสร็จ
6 เกมส์ (Games) เป็นการเรียนรู้จากการเล่น ซึ่งอาจจะเป็นประเภทให้แข่งขันเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายคือชัยชนะ หรืออาจเป็นประเภทเกมความร่วมมือ คือเป็นการให้ร่วมเล่นกันเป็นทีม เพื่อฝึก การทำงานเป็นทีม นอกจากนี้อาจใช้เกมในการสอนศัพท์ เกมการคิดคำนวณ เป็นต้น

3.4 ข้อดี ข้อจำกัด
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีผลย้อนกลับมาได้เร็วทันที โดยไม่ต้องรอครูผู้สอน
2. การใช้สี ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหว เสียงดนตรี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัดหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น
3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
4. การเก็บข้อมูลของเครื่องทำให้สามารถนำไปใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็น อย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
5. ลักษณะโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตน โดยสะดวกอย่างช้า ๆ โดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบผิด และผู้เรียนเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันเราได้ใช้ระบบการสื่อสารทางด้านคอมพิวเตอร์ติดต่อหรือค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
6. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของครู ในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้

ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไป ซึ่งบทเรียนบางบทเรียนที่เน้นความสนุก โดยนำเข้าไปแทรกในบทเรียน บางทีอาจจะไม่มีสาระต่อการเรียนรู้ก็ได้
2. การออกแบบโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เมื่อเทียนกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ และยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
3. เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แท้จริง ที่จะสามารถนำมาสอนได้
4. การที่จะให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของครูผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. ผู้เรียนบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก ไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียน

3.5 การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1) ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2) ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3) ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4) เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5) เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน

3.6 การใช้และการประเมินผล
คอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มีการพัฒนาและนำมาใช้อย่างมากที่สุด ในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในระบบบริหาร และช่วยสอนอย่างมากมาย แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ บทเรียนที่มีคุณภาพและบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงยังคงต้องได้รับความเอาใจใส่และพัฒนาต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทุกด้าน

4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)

4.2 ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

1) ระบบสนับสนุนการทำงานในการปฏิบัติงานประจำวัน (Official information System:OIS)
2) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System :MIS)
3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systim :DSS)
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information System :EIS)
5) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems :ES)

4.3 ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)
2. เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)
3. เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)
4. ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)
5. สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)
6. สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
7. ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)

ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดช่องว่าง (Gap) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับผลกระทบต่อการศึกษาการประยุกต์ที่สำคัญ คือ การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI ) ซึ่ง CAI จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากขึ้นยิ่งเราผลิตบทเรียน CAI ออกมามากขึ้นเท่าไหร่ก็ทำให้เกิดช่องว่างมากเท่านั้น เพราะคนรวยสามารถหาซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้ในบ้านได้ และทำให้สามารถซื้อและยืม CAI ไปเรียน

4.4 แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กบการศึกษา

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก

4.5 การประเมินผลการใช้งาน

จัดทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550

ทายนิสัยกับเส้นก๋วยเตี๋ยวกันนะ

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่
คุณเป็นพวกจริงจังมาก เป็นพวกเงียบๆ รักสันโดษ
ส่วนลึกในจิตใจของคุณจะค่อนข้างอ่อนไหว
อะไรนิด อะไรหน่อยก็เก็บไปคิด ชอบช่วยเหลือคนอื่น
อย่าเครียดนักนะ ต้องปล่อยวางบ้าง

ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก
คุณน่ะชอบสังคม มีเพื่อนมาก ไม่คิดมาก มีอารมณ์ขัน
ข้อเสียของคุณก็คือไม่ค่อยจะมั่นใจในตัวเองซักเท่าไหร่เลยล่ะ
เจ้าชู้เหมือนกันนะคุณนี่

ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่
คุณชอบอยู่เงียบๆ ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร
ชอบอ่านหนังสือ ไปไหนมาไหนคนเดียวก็ได้นะนี่
ไม่น่าเชื่อว่าคุณจะโรแมนติกเหมือนกันน้า....แต่ขี้งอนชะมัด

ก๋วยเตี๋ยวเส้นบะหมี่
โอ้โห..อย่าซนนักสิ ชอบนักล่ะเรื่องท้าทาย
ไม่เคยกลัวเลยล่ะ แถมยังชอบตะลอนๆ ไปโน่นมานี่ไม่หยุด
ถ้าจะหาเพื่อนรู้ใจ ก็ไม่ควรเอาพวกขี้งอนนะ
เพราะเขาจะไม่เข้าใจคุณเอาซะเลย
วันๆ ยุ่งอยู่กันเรื่องนั้นเรื่องนี้ ไม่ค่อยมีเวลาให้หวานใจนะ

บะหมี่สำเร็จรูป
โถ....อย่าหยิ่งนักเลยจ๊ะ
อย่าหวังนะว่าฉันจะยอมก้มหัวให้ใคร
ไม่ว่ายากแค้น ลำบากลำบนแค่ไหน
ก็ยังหยิ่งเสมอต้นเสมอปลาย เรื่องง้อเขาก่อนนี่
ทำไม่ด้ายยยยย ฝืนใจมั่กมาก
ข้อดีก็คือ ละเอียดอ่อน เป็นคนหนึ่งที่ทำงานเก่ง
ส่วนข้อเสียนะเหรอ เจ้าอารมณ์ชะมัด
แถมยังใช้เงินเก่งอีกต่างหากนะ


เส้นขนมจีน
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ข้อเด่นของคนชอบกินขนมจีนก็คือ ขี้เหนียวมาก
แต่บางอารมณ์ถ้าเจอของถูกใจนะ
ทุ่มไม่อั้นได้เหมือนกัน แถมอีกนิด อะไรนิดอะไรหน่อย
ถ้าขวางหูขวางตานะ บอกไว้ก่อนว่า รำค้าน รำคาญค่ะ
ฮู้ยอะไรกันนักหนาก็ไม่รู้ แต่เรื่องแฟนเนี่ยนะ
ชอบมากกับพวกที่ดูหรูเริด มีชาติตระกูล
ชอบกินขนมจีนหรือเปล่า นี่แหละตัวตนของคุณ


เส้นสปาร์เก็ตตี้
อาหารฝรั่งที่ถูกปากคนไทยไม่น้อย
เป็นคนที่ดูจริงจังมาก จัดอยู่ประเภทอนุรักษ์นิยมคนหนึ่งเลยนะ
เกลียดมากๆ ถ้าใครมาเอาเปรียบ
และจะกัดไม่ปล่อยเลยล่ะ
ถึงไหนถึงกัแต่ถ้าใครอยากให้ช่วยเหลือ ได้เลยเต็มที่
แต่ไม่ชอบออกนอกหน้าอ่ะ
ประเภท ไม่ประสงค์จะออกนามประมาณนั้นล่ะ


ตรงบ้างมั๊ยจ๊ะเพื่อนๆ

ป้ายกำกับ:

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

สื่อมวลชนกับการศึกษา

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในปัจจุบัน สื่อมวลชนมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสังคมโดยรวมและบุคคล ทั้งทางลบและทางบวก ยกตัวอย่างเช่น สื่อมวลชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมอย่างขาดไม่ได้ ช่วยสร้างงานให้กับคนงานจำนวนหลายล้านคน สื่อมวลชนกลายเป็นศูนย์รวมทางด้านการเมือง โดยมีการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์ทางการเมืองของพรรค การหาเสียง และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป การสื่อสารมวลชนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชน การรับฟังรายการวิทยุ การชมรายการ รวมทั้งระบบการศึกษาด้วย
สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น
ความหมายของ “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา”
สื่อมวลชน หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมวลชนมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน (Mass Media Function)
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน หมายถึง การกระทำของสื่อมวลชนที่ได้ส่งผล กำลังส่งผลหรือที่จะส่งผลต่อชีวิตและสังคมนั่นเอง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นไปตามธรรมชาติของการสื่อสารมวลชนหรือเป็นไปตามจารีตประเพณีหรือศีลธรรมจรรยาของสังคม ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพสื่อมวลชนนั้นๆ
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนตามแนวคิดของลาสเวลส์ Lasswell ได้อธิบายแบบจำลองทางการสื่อสารไว้ว่า กระบวนการติดต่อสื่อสารประกอบไปด้วย ผู้ส่ง (Who) พูดอะไร (Says what) โดยใช้ช่องทางไหน (In which channel) ไปถึงใคร (To whom) และเกิดผลอะไรบ้าง? (With what affect) และกล่าวถึง หน้าที่ของสื่อมวลชนในหนังสือ “The Structure and Function Communication” ว่ามีอยู่ 3 ประการคือ
1.หน้าที่ในการสังเกตการณ์และรายงานสภาพแวดล้อมทางสังคม (Surveillance of the Environment)
2.หน้าที่ในประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆของสังคมให้รวมตัวกันอยู่ได้(Correlation of the Different parts of Society in Responding toEnvironment)
3.หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคม (Transmission of Social Heritage from one Generation to the next)
หน้าที่ของสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้
1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ
2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน
3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา ลักษณะการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
2.เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ
3.สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้
4.เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
5.อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน6.สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้
8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด
9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
11. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
สื่อโทรทัศน์จัดได้ว่าเป็นสื่อที่มีอิทธิพลทางสังคมมากที่สุด ทั้งเพื่อความบันเทิง การรับรู้ข่าวสารต่างๆจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ความรู้ วิทยาการต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนข้อมูลของสินค้าและบริการต่างๆที่โฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ เพราะเป็นสื่อที่แพร่หลายสามารถเห็นได้ทั้งภาพและเสียง จึงมีอิทธิพลในการจูงใจผู้บริโภคอย่างมาก
คำพูดที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคมนั้น เพราะสื่อทำหน้าที่ทั้งในเชิงสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชม ให้ความสนุกสนาน ช่วยในการผ่อนคลาย รับรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และในขณะเดียวกันเป็นกระจกสะท้อนสังคมที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมความนึกคิด และพฤติกรรมของผู้ชมในวงกว้างอีกด้วย สื่ออาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะทางด้านอารมณ์ที่รุนแรง เป็นช่องทางในการรับรู้ข่าวสารที่ไม่มีสาระได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรเลือกที่จะรับสื่อในทางที่ถูกที่ควร
ความคิดเห็นต่อเรตติ้งทีวีไทย ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นการสร้างมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น ตัว น13 , ฉ , น18 , ท แต่ถึงอย่างไรผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่บุตรหลานควบคู่ไปด้วย อีกทั้งทางผู้ประกอบการเองก็ควรคำนึงถึงเนื้อหาสาระที่มุ่งการลดความรุนแรง และมีสาระมากกว่าเดิม และควรมีบอร์ดเซนเซอร์มีอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์ของเนื้อหาที่ชัดเจน ทั้งนี้ผู้ชมควรแยกแยะ เลือกที่จะรับชม โดยเฉพาะเยาวชนไทยที่ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาด้านความเชื่อ และมุมมองต่อโลกทรรศน์
ประวัติความเป็นมา SMS การส่ง SMS ครั้งแรก คือ การส่งข้อความจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังโทรศัพท์มือถือเครือข่ายโวดาโฟนซึ่งเป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระบบจีเอสเอ็ม ในประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1992 SMS ย่อมาจากคำว่า Short Message Service หรือเป็นบริการส่งข้อความสั้นๆ ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับการส่งอีเมลล์ แต่จะสามารถส่งข้อความได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษรผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ข้อดีของบริการ SMS คือ สามารถส่งไปยังผู้รับโดยไม่ต้องกังวลว่าพื้นที่ของผู้รับจะมีสัญญาณหรือไม่ในขณะนั้น หากทางปลายทางไม่มีสัญญาณระบบ SMS นี้จะเก็บข้อมูลไว้จนกว่าปลายทางมีสัญญาณทางระบบจึงจะทำการส่งข้อมูลไปในทันที นอกจากนี้แล้ว SMS ยังสามารถส่งข้อความที่ได้รับมาต่อไปยังหมายเลขอื่นๆได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย ใช้เวลาน้อย และประหยัดน้ำมัน เพียงแค่พิมพ์ข้อความแล้วกดส่ง ก็จะถึงมือผู้รับโดยไม่ยาก
ข้อเสียของบริการ SMS คือ การส่งข้อความแต่ละครั้งเราสามารถส่งได้ตามใจตนเองดังนั้นหากเป็นข้อความที่ไม่พิงประสงค์แก่ผู้รับอาจทำให้เกิดการละเมิดสิทธิได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอีกด้วย และหากกรณีของการส่งข้อความเป็นการส่งเพื่อร่วมชิงรางวัลต่างๆ โดยที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย ความผิดในการส่งเอสเอ็มเอสนี้ก็เข้าข่ายกฎหมายว่าด้วยการโฆษณาเช่นกัน
การนำสื่อมลวชนมาใช้ในการศึกษานับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น สามารถเป็นสื่อที่สอนแทนครูได้ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู เพื่อเสริมความรู้ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้ บันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน สื่อช่วยดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน ให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ประจำวัน เป็นเครื่องมือในการช่วยสอน เพิ่มพูนคุณค่าในการสอน เพิ่มความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
แนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษา ในปัจจุบันได้มีการนำสื่อมวลชนมาใช้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิดีทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเตอร์เนต ฉะนั้นจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นครูผู้สอนควรที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ และจัดกิจกรรมการเรียนที่จะต้องใช้สื่อมวลชนร่วมด้วยจะช่วยให้การเรียนสำฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น
สื่อมวลชนจะเป็นสื่อที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างมากหากรู้จักใช้ในทางที่ถูกที่ควร